นิยามที่แท้จริงของจินตนาการ

مکمل کتاب : นิยามที่แท้จริงของจินตนาการ

ผู้แต่ง:

URL แบบสั้น: https://iseek.online/?p=16349

แจนเซอร์และมุอัมมัดซัรดาร จากรางวัลยินดีถามว่า จินตนาการในการ ฝึกที่ท่านแนะนำมีความหมายอย่างสำคัญ ความหมายที่แท้จริงของจินตนาการ คืออะไร เราต้องกระตุ้นตัวเองว่าเราเห็นมหาสมุทรแสง และโลกทั้งหมดจมดิ่ง ลงไป โดยถืออย่างเดียวกับการสะกดจิตหรือมีความหมายเป็นอย่างอื่น

คำตอบ การไปตลาดหรือทำงาน เป็นกิจวัตรประจำวันอย่างหนึ่งของ เรา เมื่อเราไปถึงที่ทำงานถ้ามีคนถามว่า ระหว่างทางที่มาคุณเห็นอะไรบ้าง แน่นอนด้วยความเคยชินเราจะตอบว่า ไม่ได้สังเกตอะไรมาก สิ่งนี้บอกกับเรา ว่า ถ้าไม่ให้ความสนใจต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวมากนัก เราก็จะยังคงไม่รู้ว่าเกิดอะไร ขึ้น ที่ไหน อย่างไร จากตัวอย่างนี้จึงเป็นที่ชัดเจนว่า ถ้าเราให้ความสนใจใน บางสิ่งบางอย่าง สิ่งนั้นก็จะมีความสำคัญอยู่บ้าง แม้ว่าสิ่งดังกล่าวอาจไม่มีความ สำคัญเลยก็ตาม เราสามารถเข้าใจบางสิ่งบางอย่าง ก็ต่อเมื่อเราให้ความสน ใจสิ่งนั้น ระหว่างทางที่ไปทำงานเราเห็นสิ่งต่างๆ มากมาย แต่เนื่องจากเราไม่ ค่อยให้ความสนใจ จึงเป็นการยากที่จะจดจำสิ่งนั้นไวไนความทรงจำ ดังนั้น จึงเป็นกฎว่า ถ้าให้ความ สนใจต่อสิ่งใด นัยยะของสิ่งนั้นก็จะปรากฏบนจิตใจของเรา แม้ว่าสิ่งนั้นจะอยู่นอกเหนือความเข้าใจก็ตาม

เมื่อเราศึกษาเรื่องบางเรื่อง บางครั้งทำให้เสียเวลาติดตามเนื่องจากความสนใจต่อสิ่งนั้น จะสังเกตเห็นว่าไม่น่าเชื่อที่เราใช้เวลาศึกษา หนังสือบางเล่มได้นานถึงสองหรือสามชั่วโมง แต่ต้องเชื่อเพราะมีนาฬิกาเป็น เครื่องยืนยัน ตรงกันข้ามเมื่อศึกษาหนังสือที่เรื่องราวไม่ตรงกับความสนใจ เรา จะรู้สึกเบื่อหน่าย แม้ใช้เวลาศึกษาเพียง 10 นาทีก็รู้สึกเหมือนผ่านไปนานนับ ชั่วโมงและไม่น่าสนุก จนในที่สุดเราจะเลิกอ่านหนังสือเล่มดังกล่าว

กฎเกณฑ์อื่นๆ ที่สามารถพิจารณาจากตัวอย่างนี้ได้คือ ถ้านอกจากการ รวมศูนย์แล้ว ยังมีความสนใจด้วยภารกิจก็จะง่ายขึ้น

ตราบเท่าที่ความสนใจเราได้รับการพิจารณา ถ้าเราพยายามเข้าใจ จะ เป็นการดีกว่าที่จะกำหนดขอบเขตของมัน ความสนใจก็เหมือนกับสิ่งอื่นๆ ใน จักรวาล ที่มี 2 ลักษณะเช่นกัน เมื่อได้ลิ้มรสชาติบางสิ่งก็จะหลงใหลและพึง พอใจ นั่นคือถ้าจะพูดในด้านหนึ่งคือความอยากรู้อยาก เห็นหรือการค้นหา เพื่อ ให้พบความหมาย และในอีกด้านหนึ่งคือความพึงพอใจที่จะได้รับบางสิ่ง บางอย่างซึ่งมีผลมาจากการค้นหาหรือความอยากรู้อยากเห็นดังกล่าว เมื่อบาง คนยอมรับทางเดินด้วยความพึงพอใจและการได้ลิ้มรสชาติ ผลลัพธ์ที่ออกมา ก็จะเป็นบวกเสมอ

เป้าหมายของจินตนาการในการฝึกฝนโทรจิตก็คือ ผู้ฝึกฝนควรจะมีความสามารถในการรวมศูนย์จิตใจของตนอย่างเข้มข้น ด้วยความพึงพอใจและ การได้ลิ้มรสชาติ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ได้รับความรู้โดยธรรมชาติ โดยที่ความรู้นี้ ไม่มีในหนังสือ เพราะฉะนั้นแบบแผนดังกล่าวสำหรับการศึกษาความรู้นี้ จึงเป็น ส่วนสำคัญเหนือผู้นั้นในด้านการปฏิบัติ ความจริงวิญญาณคือแสงและศาสตร์ ทางจิตวิญญาณคือแสงเช่นกัน ความรู้เป็นแสงที่ละเอียดอ่อนและคลื่นสามารถ ส่งผ่านแลงและคลื่นด้วยกันเท่านั้น เมื่อเราพยายามที่จะจินตนาการแสงว่าเป็น คลื่นแสงหรือกล่าวออกมา แสงของศาสตร์ทางจิตวิญญาณก็เริ่มล่งผ่านมายัง จิตใจตามรสนิยมหรือความชอบของเรา

เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดและผลประโยชน์อย่างเต็มที่จากการฝึก  จินตนาการเกี่ยวกับแสงนี้ จำเป็นที่ผู้ฝึกฝนควรจะมีความซึมซาบในจินตนาการ อย่างมาก ดังนั้น จึงควรลืมสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเสีย ความลืมตัวของเขาจะ ต้องสมบูรณ์ จนความผูกพันกับความจำกัดของที่ว่างและเวลาเริ่มเสื่อมถอยลง นั่นคือเวลาที่หมดไปของผู้ฝึกฝน ควรจะเป็นลักษณะที่เวลาที่ผ่านไป ไม่ทำให้ รู้ลึกยาวนานแต่อย่างใด เหมือนกับการที่เสียเวลาไประหว่างอ่านหนังสือที่มี ความน่าสนใจ

เป็นความสำคัญอย่างยิ่งยวด ที่จะเข้าใจเกี่ยวกับจินตนาการว่า ถ้าท่าน ฝึกที่จะจินตนาการถึงแสง ดังนั้น อย่าพยายามมองหรือเห็นแสงในลักษณะพิเศษ ใดๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่พยายามคิดถึงแสง อะไรก็ตามที่เป็นรูปแบบที่แท้จริงของ แสงจะมาอยู่ต่อหน้าท่านโดยอัตโนมัติ เป้าหมายเบื้องต้นก็คือ เพื่อให้มีความ เข้มข้นของการรวมศูนย์ความสนใจของท่านในที่ทางที่แน่นอน ณ จุดใดจุด หนึ่ง และเพื่อขจัดความคิดที่กระจัดกระจายอยู่ หลังจากความรู้ตามธรรมชาติ เริ่มส่งเข้ามาในจิตใจที่ละขั้นที่ละตอน โดยทั่วไปภาวะตังกล่าว ซึ่งเรียกว่าภาวะ จิตใจที่สูญหายไปจะประสบความสำเร็จ ซึ่งใกล้เคียงอย่างมากกับที่มุ่งหมายจะ อธิบาย

ในการออกคำสั่งเพื่อจินตนาการบางสิ่งบางอย่าง เมื่อเราพยายามมอง เห็นมัน หลังจากมีภาพจินตนาการในจิตใจ กระบวนการนี้ไม่ได้เข้ามาในขอบ เขตความเข้มข้นของอารมณ์ โดยที่ความเข้มข้นของการรวมศูนย์หมายถึง ผู้ฝึกฝนจะต้องมีการมองเห็นอย่างชัดเจน และการได้ยินสิ่งใดอย่างมีสติ

เป็นกฎของธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถปลีกตัวออกจากหรือล้ำหน้า ความรู้สึกของเขาได้ แม้เพียงชั่วขณะหนึ่งอันน้อยนิด เมื่อความรู้สึกของ จิตสำนึกไม่สามารถพิชิตเหนือตัวเรา ความรู้สึกของจิตไร้สำนึกก็จะได้รับชัย ชนะ ภายหลังจากที่ได้รับการกระตุ้น และการมีความคุ้นเคยกับความรู้สึกของ จิตไร้สำนึกคือความเข้าใจและการหยั่งรู้ของศาสตร์ทางอภิปรัชญา

ระหว่างการฝึกเข้าฌานหรือทำมุรอกอบะฮ์ เราถูกกำหนดให้คำนึงถึง เกี่ยวกับบางสิ่งอย่างเอาจริงเอาจัง จนอยู่ในภาวะลืมสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัว สิ่งนี้ จะทำให้เราสามารถเป็นอิสระจากข้อจำกัดของที่ว่างและเวลา และเมื่อเรายุ่ง อยู่กับการไตร่ตรองและไม่รับเกี่ยวกับการมีอยู่ของเวลา ก็จะเริ่มเดินทางเข้า สู่ปริมณฑลที่มองไม่เห็น ในการฝึกเข้าฌานเราจะได้รับการบอกกล่าวให้ จินตนาการถึงบางสิ่งบางอย่าง เมื่อจินตนาการเราต้องการจินตนาการที่ซึมซาบ จนสามารถดับสูญความสัมพันธ์กับปริมณฑลแห่งปรากฏการณ์รอบๆ ตัวเรา ถ้าไม่มีการซึมซาบ การฝึกเกี่ยวกับจินตนาการถึงสิ่งใดก็ตามจะยังคงไม่สมบูรณ์ ขั้นแรกการฝึกเข้าฌานจะกระทำโดยการหลับตา แต่ในขั้นตอนต่อมาผู้ฝึกจะ เชี่ยวชาญในการจินตนาการสิ่งที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งสามารถกระทำได้แม้เมื่อยังลืมตาอยู่

นี่คือ ขั้นตอนซึ่งกันในฐานะการกระตุ้นของตาที่สาม ตาที่สามนี้คือ ตาด้านใน และไม่เกี่ยวข้องกับตาทางกายภาพ นี่คือตาเดียวกันซึ่งรู้จักกันใน นามตาทางจิตวิญญาณ

แสดงทั้งหมด ↓

โปรดให้ความคิดเห็นของคุณ

    Your Name (required)

    Your Email (required)

    Subject (required)

    Category

    Your Message (required)