จิตใจ…คือต้นไม้

مکمل کتاب : จิตใจ…คือต้นไม้

ผู้แต่ง:

URL แบบสั้น: https://iseek.online/?p=16365

คำถาม เป็นความจริงหรือไม่ที่ว่า นักศึกษาทางด้านอภิปรัชญาและ ศาสตร์ที่ลี้ลับ คือผู้ที่ยังเยาว์และยังไม่บรรลุวุฒิภาวะ ขณะที่ผู้ซึ่งบรรลุวุฒิภาวะ แล้วอันได้แก่นักวิชาการ ปัญญาชนและผู้ที่เข้าหาตรรกะ ก็คือผู้ที่สุดโต่งไม่อาจศึกษาศาสตร์นี้ได้

ตอบ จิตใจของมนุษย์ เป็นสิ่งถูกสร้างที่สมบูรณ์ที่สุดสิ่งหนึ่งของพระผู้ เป็นเจ้า ผู้ทรงสูงส่ง ซึ่งเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งต้นไม้หลากหลายพันธุ์เจริญ เติบโตได้ ต้นไม้ที่เติบโตในดินของจิตใจคือศาสตร์ต่างๆ ที่อยู่นอกเหนือการควบ คุมซึ่งมีมหาศาล จนการนับจำนวนอันมากมายของพวกเขาแทบจะเป็นไปไม่ได้ ในบรรดาศาสตร์ของอภิปรัชญาและศาสตร์ที่ลี้ลับมี,จุดยืน,ของตนเอง ศาสตร์ ทางอภิปรัชญายังรู้จักกันในฐานะศาสตร์ทางจิตวิญญาณหรือจิตวิญญาณนิยม

กิ่งก้านที่เขียวชอุ่มของต้นไม้ สามารถใช้ในเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ที่มีประโยชน์ ขณะที่กิ่งที่แห้งและถูกหนอนกินสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้

ชายหนุ่มและหญิงสาวเปรียบเสมือนกิ่งก้านต้นไม้ที่เขียวชอุ่ม ขณะที่คน แก่และคนมากเหตุผลเหมือนไม้แห้ง ซึ่งไม่มีการร่ำเรียนวิชาการใดที่เขาสนใจ

ในขอบข่ายแห่งการสังเกตและประสบการณ์ของบรรดานักจิตวิทยา และผู้นำทางต้านศาสตร์ทางอภิปรัชญาทั้งหลาย ซึ่งประกาศเหตุผลขั้นพื้นฐานของสำหรับสิ่งนี้ ได้กล่าวว่า ความต้องการขั้นพื้นฐานสำหรับการศึกษาศาสตร์ ทางด้านจิตวิญญาณ ธรรมชาติที่นุ่มนวล หัวใจที่อ่อนโยนและจิตใจที่ไม่กังวล ด้วยวัยที่มากขึ้น หลังจากที่ถูกกักขังอยู่ในเปลือกของอุดมการณ์เฉพาะของตน เอง คนผู้หนึ่งก็จะเติบโตขึ้นมาเป็นผู้มีใจคับแคบ หัวใจที่หยาบกระด้างและ ประกาศว่าตนเองได้รับอุดมการณ์ของชีวิตแล้ว ขณะที่จิตวิญญาณนิยมไม่ยอม รับการเข้าใกล้ลักษณะนี้ด้วย

มันเป็นความจริงที่ตรงไปตรงมาว่า ผู้หนึ่งสามารถเรียนรู้จากครูของตน เองได้ ยกเว้นเขาไม่พร้อมที่จะยอมรับสิ่งที่ครูบอก ในฐานะคำสั่งเสียที่เด็ดขาด ถ้าเด็กไม่ยอมรับ “ก.ไก่” ว่าเป็น “กอไก่” เขาจะไม่สามารถเรียนรู้เรื่องตัว อักษรได้

นักศึกษาที่เยาว์วัยและหญิงสาวผู้บริสุทธิ์สามารถสำเร็จการศึกษา ศาสตร์เหล่านี้ได้ เพราะพวกเขาไม่มีความสงสัยหรือข้อแม้ และยึดมั่นความ คิดที่ไม่ยืดหยุ่นใดๆ พวกเขายอมรับสิ่งที่ได้รับการบอกเล่าให้ยอมรับโดยง่าย ผู้อาวุโสแทนที่จะยอมมอบตัวเองแก่ครูทางจิตวิญญาณ ในขอบข่ายแห่ง อุดมการณ์พิเศษและความคิดที่มั่นคง กลับพยายามเข้าไปตัดสินคำแนะนำของ ครู และพยายามวิเคราะห์ความรู้ ซึ่งตัวเองก็ยังไม่รู้แม้แต่ระดับ ก ข ค ในขอบข่ายของตรรกะและปรัชญาเลย

สิ่งนี้ผู้ที่ปรารถนาในการศึกษาศาสตร์ทางอภิปรัชญาทั้งหมด ต้องจดจำ ไว้ในใจก็คือ อุดมการณ์ที่มีขอบเขตจำกัด ผู้เข้าใกล้ความสุดโต่ง และที่ลือว่า ตนเป็นผู้นำในขอบข่าย พร้อมด้วยความรู้สึก วางภูมิในความสามารถของ พวกเขา เป็นเพียงดรรชนีบ่งชี้การเข้าใกล้ความผิดพลาดของพวกเขาซึ่งมิแต่ จะเป็นอุปสรรคในการมีหัวใจที่ไม่วอกแวกและอิสระเท่านั้น เมื่อบางคนถูกกีด กันจากความโปรดปรานของการมีจิตใจที่เข้าใกล้ความอิสระ และไม่มีอุปทาน ความสงสัยและการตามอำเภอใจ ก็จะกลืนความสามารถตามธรรมชาติที่ให้ แก่เขาเข้าไป หลังจากดึงดูดความสนใจในการเกาะกุมของพวกเขาแล้ว

นี่คือสถานการณ์อันน่าเศร้า เหตุการณ์เดียวกันเกี่ยวกับที่พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสูงส่ง ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์อัล กุรอานว่า

“อัลลอฮ์ได้ทรงประทับตราบนหัวใจของพวกเขา และบนหูของพวก เขาแล้ว และบนตาของพวกเขาก็มีสิ่งบดบังอยู่และเขาเหล่านั้น จะได้รับการ ลงโทษอันมหันต์” (บทที่ 2 โองการที่ 7)

แสดงทั้งหมด ↓

โปรดให้ความคิดเห็นของคุณ

    Your Name (required)

    Your Email (required)

    Subject (required)

    Category

    Your Message (required)