กระแสไฟฟ้าในมนุษย์

مکمل کتاب : กระแสไฟฟ้าในมนุษย์

ผู้แต่ง:

URL แบบสั้น: https://iseek.online/?p=9548

เมื่อโดก็ตามที่เราบังเอิญไปสัมผัสทับกระแสไฟฟ้าเราจะถูกกระตุก การกระตุกเกิดจากผลกระทบของการไหลของกระแสไฟฟ้าที่เข้ามาในร่างกายมนุษย์ ซึ่งทำให้ทั่วสรรพองค์กายอลหม่านไปหมด และถ้าแรงดันไฟฟ้าที่ทำงานอยู่ในร่างกายมนุษย์มีน้อยกว่าหรืออ่อนแอกว่าไฟฟ้าที่เข้ามาปะทะ มนุษย์ก็จะทรุดลงและสิ้น สติสมปฤดี แต่ถ้าไฟฟ้านั้นถูกควบคุมให้กระแสวิ่งผ่านร่างกายลงพื้นดินเขาจะปลอดภัยจากการกระตุก จากข้อเท็จจริงที่แน่นอนนี้เปิดเผยให้เห็นว่า ในการสร้าง สรรค์จักรวาลอันกว้างใหญ่เหลือประมาณนั้น มีสิ่งที่แน่นอนซึ่งตามกฎของกระแสลบและกระแสบวกดูดซับกระแสไฟฟ้า สูตรนี้บอกเราว่ามีปัจจัยการสร้างสรรค์ที่แน่นอน ซึ่งสามารถสะสมและเก็บกระแสไฟฟ้าได้

จิตสำนึกกอลันดารชี้นำเราว่า ตามสูตรการสร้างสรรค์ เราสามารถกระตุ้น ความสามารถที่ซ่อนอยู่ภายในทุกประเภทที่มองไม่เห็นในตัวของเรา ผ่านทางพลัง เจตนารมณ์ ความตั้งใจและอำนาจของเราได้   เมื่อบุคคลมีความคุ้นเคยกับนัสมะฮ์ (รัศมี) นั่นคือการไหลของกระแสไฟฟ้า เราไม่เพียงจะสามารถควบคุมการไหล ของกระแสไฟฟ้าได้เท่านั้น   แต่ยังสามารถเก็บสะสมไว้ได้มากเท่าที่ต้องการ ดังนั้นและด้วยการใช้พลังงานที่เก็บไว้นี้ เขาสามารถแม้แต่บินไปในโลกที่มองไม่เห็น โดยปราศจากการใช้ทรัพย์สมบัติหรือแหล่งทรัพยากรธรรมชาติใดๆ การสะสมกระแส ไฟฟ้าทำให้เขาสามารถข้ามขอบฟ้าอย่างมีพลังอำนาจ ตามที่และเมื่อเขาต้องการ ที่โลกจำนวนเหลือคณานับซึ่งเหมือนกับโลกของเราเองได้มาอยู่ต่อหน้าเขา และสังเกต เห็นโลกนับล้านๆ ในแกแล็กซี่ต่างๆ เหมือนกับที่มองเห็นสิ่งถูกสร้างของพระเจ้าใน ดาวโลกของเรานี้ เมื่อใดก็ตามที่จิตสำนึกกอลันดารถูกทำให้ตื่นขึ้น ก็จะถูกทำให้สังเกต เห็นและเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า มีโลกจำนวนมากจนไม่อาจคาดคะเนได้ในจักรวาลที่ เหมือนกับโลกซึ่งเราอาศัยอยู่นี้ ในโลกอื่นเหล่านั้นมีการตั้งถิ่นฐานของผู้คนเหมือนกับเรา มีการขยายจำนวนด้วยการสืบพันธุ์ มีการเพาะปลูก กินดื่ม มีธุรกิจและ การจัดตั้งทางสังคม ความมีอารยธรรมและพิธีกรรมในการเกิดการตาย กล่าวอย่างสั้นๆ คือสิ่งที่เราสังเกตเห็นในโลกของเราก็มีอยู่ในโลกอื่นที่นับจำนวนไม่ถ้วนเช่นกัน

ดูบทความนี้ในหนังสือที่พิมพ์บนหน้าเว็บ (หรือหน้า): 131 ถึง 133

แสดงทั้งหมด ↓

โปรดให้ความคิดเห็นของคุณ

    Your Name (required)

    Your Email (required)

    Subject (required)

    Category

    Your Message (required)