กฎการมองเห็น

مکمل کتاب : กฎการมองเห็น

ผู้แต่ง:

URL แบบสั้น: https://iseek.online/?p=16288

ก่อนที่จะสาธยายเกี่ยวกับการฝึกฝนโทรจิต มีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจต่อกฎการมองเห็นเสียก่อน ความจริงมนุษย์มองเห็นเมื่อการมองพุ่งไปที่ วัตถุ หลังจากซึมซาบและนำมันไปสู่การกลั่นกรองทางอารมณ์ความรู้สึกแล้ว จากนั้นจิตใจก็จะมองเห็น รู้สึกและให้เหตุผลต่อความหมายของสิ่งที่มองเห็นได้ กฎของการมองเห็นคือ เมื่อวัตถุถูกนำมาเพ่งมอง ภาพในใจของมันจะใช้เวลา 15 วินาที เพื่อการกลั่นกรองของจิตใจ และด้วยการกระพริบตา มันจะค่อยๆ เคลื่อนเข้าไปสู่ความทรงจำ และถูกแทนที่ด้วยภาพในใจอื่นๆ ถ้าการมองจับ จ้องไปที่วัตถุเกิน 15 วินาทีภาพในใจที่เหมือนกันจะยังคงกลับมาอีกในการกลั่นกรองของจิต จำหลักตัวเองลงไปในความทรงจำ ตัวอย่างเช่น เมื่อของบางสิ่งถูกมองเป็นระยะเวลายาวนานโดยไม่กระพริบตา ความสามารถใน การมองเห็นจะซึมซาบเข้าไปในจิต และทำให้ความฝึกซึ่งของจิตสิ้นสุดลง การค่อยๆ ฝึกฝน จะทำให้ผู้ฝึกสามารถควบคุมและตรวจสอบการเคลื่อนไหว ของวัตถุตามเจตนารมณ์ของตนได้ หมายความว่าการรวมศูนย์การมองเห็นได้ ให้กำเนิดอำนาจของเจตนารมณ์ และอำนาจของเจตนารมณ์คือ พลังที่ทำให้ เราสามารถปฏิบัติภารกิจต่างๆ ได้ กฎเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของโทรจิตคือ การทำให้ผู้หนึ่งสามารถรวมศูนย์จุดสนใจของการมองเห็นของเขาไปยังตำแหน่งเฉพาะ เพื่อให้ได้รับการรวมศูนย์ของการมองเห็น จะต้องมีความตั้งใจอยู่ในจุดนั้นด้วย ความชำนิชำนาญในการรวมศูนย์มีมากเท่าใด พลังของเจตนารมณ์ที่สนับสนุน การตั้งจิต ก็ยิ่งมีความเข้มแข็งมากขึ้นเท่านั้น เมื่อนักโทรจิตมีความตั้งใจที่จะ สะท้อนความคิดของตน ลงบนจอแห่งจิตใจของผู้อื่น ความคิดจะถูกถ่ายเทไป ยังผู้นั้น และผู้นั้นก็จะยึดเอาความคิดนี้เป็นของตนเอง และเมื่อถึงตอนนี้ ถ้าผู้ รับความคิดเป็นผู้ที่มีจิตใจมั่นคงแล้ว ในภายหลังความคิดนั้นจะผ่านระยะ ของมโนคติ และรู้สึกจนกลายเป็นการดำรงอยู่ ถ้าความคิดหนึ่งถูกสื่อซ้ำไปซ้ำมา จิตใจของผู้รับจะเริ่มรู้สึกถึงมัน ถึงแม้ว่าผู้นั้นจะไม่ใช่ผู้ที่สนใจในการเข้า ร่วมก็ตามการรวมศูนย์ทำให้ความคิดปรากฏออกมา
โทรจิตไม่ใช่เรียกความรู้เกี่ยวกับถ่ายโอนความคิดเพียงอย่างเดียว เราสามารถเติมชีวิตของเราให้เต็มด้วยความคิดที่สุขหรรษา หลังจากศึกษาชีวิตของเราด้วยการช่วยเหลือของความรู้นี้ชีวิตคือแผนการของแรงกระตุ้น ความต้องการและความปรารถนา โดยพื้นฐานแล้วเป็นองค์ประกอบที่ผสมปนเปกัน ของความปรารถนาและแรงกระตุ้น แรงกระตุ้นแรกที่มนุษย์เผชิญหลังจากถือกำเนิดขึ้นมาคือความรู้สึกหิวกระหาย เมื่อมารดานำลูกน้อยของนางไปสู่เต้านม ทารกก็จะเริ่มให้อาหารตัวเองเหมือนที่เคยเรียนรู้เมื่ออยู่ในครรภ์มารดา
การเจริญเติบโตเป็นการเรียกอีกอย่างหนึ่งของความสมบูรณ์และความสมปรารถนา ความปรารถนาจะได้รับการบรรลุใน 2 วิธีการ วิธีที่หนึ่งคือ บรรลุด้วยจิตสำนึก และอีกวิธีหนึ่งคือการบรรลุด้วยจิตไม่สำนึก จิตสำนึกและ จิตไม่สำนึกคือด้าน 2 ด้านของใบไม้ใบเดียว รอยประทับของความคิดและแนว ความคิด ในด้านหนึ่งนั้นสว่างและชัดเจน แต่ในอีกด้านหนึ่งกลับพร่ามัว ด้านที่รอยประทับสว่างและชัดเจน รู้จักกันในนามของจิตไม่สำนึก และด้านที่รอยประทับพร่ามัวและไม่ชัดเจนนั้น เรียกว่า จิตสำนึก
ในแนวความคิดทางด้านจิตวิญญาณ ผู้หนึ่งถูกสังเกตเห็นว่าในความคิด ที่สว่างและสดใสนั้น กาลเทศะไม่ได้อยู่ที่นั่น ความคิดที่ไม่ชัดเจนและเคลือบคลุมนั้นถูกคละเคล้าด้วย ความผูกพันในที่ว่างและเวลา ณ ทุกขั้นตอน เมื่อ เราวิเคราะห์แรงกระตุ้นและความสมปรารถนาในขั้นสุดท้ายของมัน จะลงเอยด้วยการรู้ว่า การอธิบายความหมายต่างๆ กันต่อแรงกระตุ้น ตัวอย่าง ความหิวเป็นแรงกระตุ้นและการปรารถนาของมันคือ การกินบางสิ่ง บางอย่าง ปัจเจกคนหนึ่งทำให้ความอยากอาหารของตนอิ่มแปล้ด้วยการกินขนมปังและเนื้อ อีกคนหนึ่งก็กินอย่างอื่น สิงโตไม่กินหญ้า แพะไม่กินเนื้อ คนหนึ่งชอบอาหารรสหวาน อีกคนหนึ่งชอบอาหารรสเค็ม
ไม่มีใครสักคนเดียวปฏิเสธความจริงนี้ที่ว่า ความเศร้าโศกและความสุขเกี่ยวพันโดยตรงกับความคิด ความคิดบางอย่างทำให้พึงพอใจอย่างยิ่ง และอีกความคิดหนึ่ง ทำให้รำคาญใจอย่างยิ่ง ความกลัว ความหวาดผวา ความไม่น่าไว้ใจ ความอิจฉา ความละโมบ ความเกลียดชัง ความพยาบาท การอวดตน ความภูมิใจในทางที่ผิดและความไร้สาระ ล้วนเป็นผลิตผลของความคิดของเราและความรัก ความพึงพอใจ ความศรัทธา ความต่ำต้อย ความสำรวมตน ความเสียสละ และความรู้สึกเศร้าโศก ก็เป็นผลลัพธ์ของความคิด เช่นกัน บางครั้งในบัดดล ความคิดนี้ก็ส่องประกายออกมาว่า เราหรือลูกของ เราคนหนึ่งจะต้องเผชิญกับอุบัติเหตุ แต่ทว่าไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจริง ความคิด นี้เป็นสาเหตุให้เรามีประสบการณ์ต่ออุบัติเหตุที่ทรมานทั้งหมด เรามีความรู้สึก ถึงประสบการณ์ของความห่วงใย ในรายละเอียดเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่ร้ายแรง ใน ทำนองเดียวกับกรณีของความสุข และชีวิตที่มีความสุข เมื่อหลังจากที่ความคิดกลายเป็นจินตนาการที่พุ่งเป้าไปยังจุดที่ภาพของความสุขและความเฟื่องฟู ดำรงอยู่ น้ำพุของความสุขก็จะเกิดขึ้นจากภายใน ความเศร้าโศกและความสนุกสนาน สัมพันธ์กับจินตนาการ และจินตนาการนั้นเป็นผลลัพธ์ของความคิด

แสดงทั้งหมด ↓

โปรดให้ความคิดเห็นของคุณ

    Your Name (required)

    Your Email (required)

    Subject (required)

    Category

    Your Message (required)