โทรจิต – บทฝึกที่ 3

مکمل کتاب : โทรจิต – บทฝึกที่ 3

ผู้แต่ง:

URL แบบสั้น: https://iseek.online/?p=16341

ผู้อ่านคงได้รับความชัดเจนแล้วว่า ในการเรียนรู้ศาสตร์ทางอภิปรัชญา มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ผู้เรียนจะต้องปลดปล่อยตัวเองจากความคิดที่ฟุ้งซ่าน และกระเจิดกระเจิงไป เมื่อความคิดรวมศูนย์มุ่งอยู่ที่จุดเดียว ความสามารถ ที่เข้มข้นของจิตใจก็จะได้รับการพัฒนาขึ้น ผู้ที่ยังไม่สำเร็จบทแรกจะได้รับการ แนะนำให้เลื่อนมาสู่บทที่ 2 ก็ต่อเมื่อสำเร็จบทที่ 1 แล้วเท่านั้น
เช่นเดียวกัน กรุณาอย่าเริ่มบทที่ 3 ถ้าบทที่ 2 ยังไม่บรรลุความสำเร็จ มีอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องการความเข้าใจอย่างชัดเจน
เช่นเดียวกับนิ้วมือของมนุษย์ ไม่มีคน 2 คนใดที่มีความสามารถในการ เรียนรู้และความสำเร็จเท่ากัน บางคนอาจมีความสามารถมากกว่าคนอื่นๆ ผู้ที่ ไม่มีความสามารถมากไม่ควรรู้สึกต่ำต้อยกว่าผู้อื่นหรือขลาดกลัว แต่ควรยินดี ในความสำเร็จของผู้ที่มีความสามารถมากกว่า
การมีปมความรู้สึกต่ำต้อย มีผลทำให้เกิดสนิมเกาะกินความสามารถ ของผู้นั้น ผู้ที่ไม่ประสบความสำเร็จอย่างเต็มที่ควรจะพยายามอย่างมุ่งมั่นเพิ่ม ขึ้นแทนที่จะถอดใจ ความสำเร็จนั้นจะต้องเป็นของท่าน
บทที่ 3 ของการรวมศูนย์ทางอารมณ์ ดังจะกล่าวต่อไปนี้
ภายหลังจากนั่งอยู่ในท่าที่ผ่อนคลาย อุดรูจมูกด้านขวา ด้วยนิ้วหัวแม่ มือข้างขวา
สูดลมหายใจเข้าทางรูจมูกด้านซ้าย 7 วินาที กลั้นลมหายใจเป็นเวลา 15 วินาทีหลังจากอุดรูจมูกด้านซ้ายด้วยนิ้วก้อยข้างขวาหลังจากครบ 15 วินาที แล้วให้เอานิ้วหัวแม่มือออกจากรูจมูกด้านขวา ปล่อยลมหายใจออก 7 วินาที และกลั้นลมหายใจ 15 วินาทีด้วยการอุดรูจมูกด้วยนิ้วหัวแม่มือปล่อยลมหายใจ ออกจากรูจมูกด้านซ้าย 7 วินาที หลังจากเอานิ้วก้อยออก นี่คือครบ 1 รอบ ทำให้ครบ 15 รอบ การฝึกนี้ทำครั้งหนึ่งในตอนเข้าตรู่ และอีกครั้งหนึ่งใน ตอนกลางคืนก่อนเข้านอน การฝึกนี้จะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ถ้ากระทำในตอนท้อง ว่างและสถานที่เปิดโล่งอากาศถ่ายเทสะดวก
ขอแนะนำให้นักศึกษาทุกคนที่กระทำการฝึกนี้ รับประทานอาหารเย็น ให้เร็ว ต้องมีช่วงเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง ระหว่างอาหารเย็นกับช่วงเวลาการ ฝึกฝน นั่นคือการฝึกฝนควรเริ่มหลังจากรับประทานอาหารแล้ว 3 ชั่วโมง ภายหลังจากการฝึกลมหายใจ ไม่ว่าจะนั่งขัดสมาธิหรือท่าอื่นใดก็ได้ที่ ท่านสบายที่สุด ปล่อยให้กล้ามเนื้อของร่างกายผ่อนคลาย จะต้องไม่มีความ ตึงเครียดในส่วนใดของร่างกาย ที่นี่ให้หลับตาลงและจินตนาการว่ามีบ่อปรอท อยู่ และตัวท่านจมดิ่งลงไปในบ่อปรอทนี้ ความลึกของการจินตนาการวัดด้วย การสัมผัสกับความรู้สึกของปรอท เมื่อการจินตนาการนี้ล้ำลึกลงไปเรื่อยๆ จิตใจ จะเริ่มรู้สึกถึงน้ำหนักของปรอท คลื่นสีเงินระยิบระยับจะเริ่มเกิดขึ้นในจิตใจ
หลังจากประสบความสำเร็จ ในการจินตนาการนี้ด้วยการหลับตาแล้ว ให้เริ่มความพยายามที่จะมีจินตนาการนี้ในขณะลืมตาอยู่ ในที่สุดเมื่อท่าน สามารถสังเกตเห็นว่า โลกทั้งมวลรอบๆ ตัวท่านได้จมลงไปในบ่อปรอทบทฝึกที่ สามของท่านก็สมบูรณ์
หมายเหตุ จะไม่มีการทำมุรอกอบะฮ์ เมื่อท่านนอนหรือเอนหลังพิงสิ่งพยุง เพราะจะท่าให้ท่านหลับ และภาวะซึ่งเป็นที่ต้องการในสภาพตื่นก็จะลื่นหายไปในการหลับ ซึ่งจะสร้างปัญหาที่จิตใจเริ่มฝันแทนการสังเกตในยาม ตื่น และเป็นการยากที่จะสัมพันธ์สิ่งที่เห็นในความฝันกับสิ่งอื่น

แสดงทั้งหมด ↓

โปรดให้ความคิดเห็นของคุณ

    Your Name (required)

    Your Email (required)

    Subject (required)

    Category

    Your Message (required)