ประเภทของการเข้าฌาน

مکمل کتاب : ประเภทของการเข้าฌาน

ผู้แต่ง:

URL แบบสั้น: https://iseek.online/?p=9572

กระบวนการการมองเห็นโลกที่มองไม่เห็นในขั้นแรกวางอยู่บน 4 รูปแบบ

วิญญาณสัตว์ประกอบด้วย 2 ตำแหน่ง ตำแหน่งหนึ่งคือตัวตน ส่วนอีก ตำแหน่งหนึ่งคือหัวใจ ตราบเท่าที่จิตสำนึกมนุษย์สังเกตหรือเห็นโลกที่อยู่ในตัวตน นั่นคือการสังเกตของการตื่นอยู่ และถูกจำกัดขอบเขตโดยกาลเทศะ หลังจากก้าวหน้าจากขั้นตอนนี้แล้ว เมื่อผู้หนึ่งมองเข้าไปในหัวใจ ซึ่งขึ้นไปอยู่เหนือวิญญาณสัตว์ การยึดกุมของกาลเทศะก็จะเริ่มหยุดลง และสามารถสังเกตทั้งโลกวัตกุและโลกที่มองไม่เห็น  หลังจากเมื่อผ่านขั้นตอนทั้งสองนี้ไปแล้ว เขาจะเข้าสู่สำดับขั้นที่สาม คือ จะมองเข้าไปในความละเอียดอ่อนของจิตวิญญาณ นี่คือการแสดงออกของการมองเห็นในมุรอกอบะฮ์ (การเข้าฌาน)

มุรอกอบะฮ์มีหลายประเภท หนึ่งในนั้นคือการนั่งหลับตา เมื่อสภาวะที่การครอบงำของจิตภวังค์ได้รับความสำเร็จ ความคิดของเขาพุ่งไปที่จุดเดียว มีบางสิ่งปรากฏต่อสายตาของเขา แต่ไม่สามารถให้คำอธิบายว่าสิ่งที่เห็นนั้นเป็นอะไร  ประเภทที่สองคือ เมื่อบางสิ่งปรากฏต่อสายตา จิตสำนึก และประสาทสัมผัสของเขาจะถูกทำให้หยุดลงชั่วคราว และเมื่อออกจากขั้นตอนนี้ เขาจดจำความทรงจำนี้ไว้ในจิตใจว่า ไม่ว่าจะเห็นบางสิ่งตามที่เป็น ไม่ว่าจะเห็นอย่างไร สิ่งนั้นก็มิได้สงวนเอาไว้ใน ความทรงจำ สภาวะเช่นนี้ในเชิงของจิตวิญญาณนิยมเรียกว่า “ความฝันในยามตื่นอยู่” และถูกเรียกว่า “ครึ่งหลับครึ่งตื่น” (กานูด) ขั้นตอนต่อไปคือ บางสิ่งบางอย่าง ถูกมองเห็นระหว่างมุรอกอบะฮ์ ด้วยความตระหนักรู้ของประสาทสัมผัส เขาได้รับ ความกระทบกระเทือนบางอย่างและบังเกิดขึ้นว่า เขาสามารถดำรงอยู่ได้ด้วย ประสาทสัมผัสแห่งการดำรงอยู่ของชีวิตตัวเอง สิ่งที่มองเห็นยังคงอยู่ในความทรง จำบางส่วน และอีกบางส่วนได้สูญเสียจากความทรงจำไป สภาวะนี้ในเชิงของจิตวิญญาณนิยมเรียกว่า “ความทรงจำ” (วารูด) ถ้าบางสิ่งบางอย่างถูกมองเห็นด้วย ความรู้สึกของการตื่นอยู่ ดังนั้น มันจะอยู่ในความทรงจำอีก ความเข้าใจความหมาย ของมันอย่างเต็มที่ ความรู้สึกถึงการดำรงอยู่ของชีวิตทางกายภาพ ก็ได้รับการรักษาไว้เช่นกัน  และการยึดกุมของกาลเทศะก็ไม่ถูกปลดเปลื้องออก นี่คือสภาวะที่เรียกว่า มุรอกอบะฮ์ (อุตรวิสัยสมาธิ)

ดูบทความนี้ในหนังสือที่พิมพ์บนหน้าเว็บ (หรือหน้า): 93 ถึง 94

แสดงทั้งหมด ↓

โปรดให้ความคิดเห็นของคุณ

    Your Name (required)

    Your Email (required)

    Subject (required)

    Category

    Your Message (required)